ซันริคุ บทที่ 1: 3 เหตุผลที่เราควรไปเยี่ยมชมแนวโขดหินชายฝั่งแห่งนี้
ชายฝั่งซันริคุ (三陸海岸, Sanriku-kaigan) เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาว 600 กิโลเมตร. ในภูมิภาคโทโฮคุซึ่งทอดยาวจากจังหวัดอาโอโมริผ่านจังหวัดอิวาเตะจนถึงจังหวัดมิยางิ คุณอาจคิดว่าแนวชายฝั่งที่ขรุขระแห่งนี้อาจจะยากต่อการเดินทางไปไหนมาไหนใช่ไหม? ไม่ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราต้องขอบคุณความพยายามของผู้อยู่อาศัยและธุรกิจภายในพื้นที่ที่ทำให้ที่นี้ได้มีการบริการอย่างดีจากทั้งทางรถไฟในท้องถิ่นและเครือข่ายรถประจำทางที่เชื่อมต่อชุมชนบริเวณชายฝั่งแห่งนี้
ในบทความชุดนี้ เราจะมาพูดถึงสามเหตุผลหลักๆที่ดึงดูดผู้คนให้มาท่องเที่ยวที่ย่านชายฝั่งซันริคุแห่งนี้ อันได้แก่ ทิวทัศน์, อาหารการกิน และ โครงการสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่ แม้ว่าทั้งสามสิ่งนี้จะไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกันซะทีเดียว แต่เชื่อเถอะในการเดินทางของคุณนั้นจะเป็นการรวมกันของทั้งสามอย่างนี้อย่างแน่นอน
ราวกับว่าที่นี่จะได้รับการประทานพรจากธรรมชาติทั้งทิวทัศน์สวยงามน่าหลงไหลและอาหารทะเลอันอุดมสมบูรณ์ แต่เราอย่าลืมว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพื้นที่สวนใหญ่ของชายฝั่งซันริคุเสียหายอย่างรุนแรงจากแผ่นดินไหวและซึนามิครั้งใหญ่ภายในพื้นที่ภาคตะวันออกของญี่ปุ่น หากท่านได้ผ่านมาบริเวณนี้อยากให้ลองแวะร้านค้าท้องถิ่นเพื่อเป็นการสนับสนุนการพื้นฟูภายในพื้นที่ ซึ่งทำได้ง่ายๆเพียงแค่แวะพักสักคืนสองคืน หรือ แวะทานอาหารจากร้านอาหารภายใน ชุมชนหล่านี้ก็ถือเป็นการช่วยสนับสนุนพวกเขาแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการแสดงออกให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขาไม่ได้ถูกลืมและพวกเรายังคงให้กำลังใจพวกเขาอยู่ตลอดเวลา
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงบทที่ 1 จากชุดบทความที่มี 2 ตอน เพื่อสนันสนุบการท่องเที่ยงตามชายฝั่งซันริคุ โดยที่บทที่1นี้จะเน้นไปที่การเดินทางด้วยรถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line ในขณะที่ บทที่2 จะเน้นไปที่การฟื้นฟูและซ่อมแซมสิ่งที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่
รถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line: สัญลักษณ์แห่งความหวังและการปรับตัว
รถไฟสาย Sanriku Rias มีทัศนียภาพที่สวยงามขณะเดินทางไปตามชายฝั่งซันริคุ (เครดิตรูปภาพ: Sanriku Railway)
รถไฟสาย Sanriku Rias Line (三陸鉄道リアス線, Sanriku Tetsudо̄ Riasu-sen) วิ่งผ่านพื้นที่ตามแนวโขดหินชายฝั่งของจังหวัดอิวาเตะ จากสถานีคุจิ (久慈駅, Kuji Station) ทางด้านเหนือไปยังสถานีซาคาริ (盛駅, Sakari Station) ทางด้านใต้ด้วยระยะทางกว่า 163 กิโลเมตร
เกร็ดน่ารู้: รถไฟซันริคุ มักจะถูกพูดถึงกันในชื่อ ”ซันเท็ตซึ” ซึ่งมาจากการรวบคำในภาษาญี่ปุ่นจาก Sanriku Tetsudо̄ กลายมาเป็น "Santetsu" นั่นเอง
แนวโขดหินชายฝั่งของซันริคุ (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
ชายฝั่งซันริคุมีชายฝั่งที่ขรุขระอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวด้วยโขดหินจำนวนมากและชายฝั่งที่แคบทำให้เกิดเป็นสันเขาที่โดดเด่นขึ้นมา เนื่องจากเป็นพื้นที่เป็นหินแข็งดังนั้นการสร้างทางรถไฟผ่านชายฝั่งแห่งนี้จึงต้องเจาะอุโมงมากกว่า 80 แห่ง
เส้นทางรถไฟเลียบชายฝั่งซันริคุในอิวาเตะ (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)
ในอดีตรถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line ประกอบไปด้วยรถไฟสามสาย ได้แก่
- รถไฟ Sanriku Railway Kita-Rias (北リアス線) ซึ่งวิ่งจากสถานี Kuji ไปยังสถานี Miyako
- รถไฟ JR East Yamada Line (山田線) ซึ่งวิ่งจากสถานี Miyako ไปยังสถานี Kamaishi
- รถไฟ Sanriku Railway Minami-Rias Line (南リアス線) ซึ่งวิ่งจากสถานี Kamaishi ไปยังสถานี Sakari
ในช่วงเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2011 เกิดมีคลื่นสึนามิที่รุนแรงได้พัดถล่มชายฝั่งซันริคุทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อทางรถไฟไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟสถานีสะพานและอื่น ๆ อย่างไรก็ตามในส่วนของรถไฟซึ่งมีบทบาทสำคัญเกี่ยวเนื่องการมีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ชายฝั่งได้มีการตัดสินใจที่จะเปิดบริการเส้นทางรถไฟในส่วนพื้นที่ที่ได้รับเสียหายน้อยหลังจากผ่านเหตุการณ์ภัยพิบัติไปเพียงแค่ 5 วัน และในภายหลังเส้นทางของรถไฟ Kita-Rias Lines และ Minami-Rias Lines จะกลับมาเปิดบริการได้เต็มรูปแบบอีกครั้งในช่วงเดินเมษายน ปีค.ศ. 2014
ทางรถไฟในส่วนระหว่างสถานี Miyako Station (宮古駅) และสถานี Kamaishi Station (釜石駅) ได้กลับมาให้บริการอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม ปีค.ศ.2019, หลังจากได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากแผ่นดินไหวและซึนามิเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ในเวลาเดียวกันกับที่เริ่มกลับมาเปิดบริการใหม่นั้นทาง JR East เจ้าของเส้นทางเดิมก็ได้ทำการยกเส้นทางนี้ให้กับ Sanriku Railway ซึ่งเมื่อรวมกับเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้วของซันริคุทำให้สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่สถานี Kuji ไปจนถึงสถานี Sakari ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Sanriku Railway Rias Line.
มาดูกันว่าเจ้าซันริคุนี้จะพาเราไปยังที่ไหนกันบ้าง!
ข้าวกล่องหน้าไข่หอยเม่น ที่สถานี Kuji
ภายนอกของสถานีรถไฟ Sanriku Kuji และสถานี JR Kuji (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)
ที่ตอนเหนือสุดของรถไฟสาย Rias Line คือสถานีคุจิ (久慈駅, Kuji Station) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างรถไฟสาย Sanriku Railway และรถไฟสาย JR Hachinohe Line เมืองคุจินี้เป็นที่รู้จักกันมากจากละครเรื่อง Amachanเป็นละครช่วงเช้าของช่อง NHK ในปีค.ศ.2013 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอามะ Ama (海女) แห่งคาบสมุครโคโซเดะ Kosode Coast, อามะเป็นผู้หญิงที่มีอาชีพหาหอยเม่น (うに, uni), หอยเป๋าฮือ (アワビ, awabi), และหอยทะเลอื่นๆ โดยเป็นการดำน้ำที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆในการดำน้ำ ที่เมืองคุจิแห่งนี้มีเชื่อเสียงจากการเป็นแหล่งผลิตหอยเม่น และโดยรอบของสถานีรถไฟ JR Kuji Station นี้ก็มีร้านอาหารจากเจ้าหอยเม่นที่น่าเอร็ดอร่อย
อุนิเบนโตะสูตรพิเศษจากร้านRias Tei (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
ก่อนที่จะเริ่มการเดินทางด้วยรถไฟ อย่าได้พลาดโอกาสไปสัมผัสกับข้าวกล่องหน้าไข่หอยเม่นสูตรพิเศษ (うに弁当, uni bentо̄) จากร้าน Rias Tei (リアス亭) ภายในสถานี Sanriku Railway Kuji Station กันเชียวนะ
แม้ว่าตัวกล่องจะดูธรรมดา แต่เมื่อเราเปิดกล่องออกมาแล้วเราจะพบกับไข่หอยเม่นสีทองอร่ามที่รอให้เรากลืนกินมันลงไป! ข้างในกล่องแต่ละกล่องจะมีไข่หอยเม่นอยู่ 5-6 ชิ้น อยู่บนข้าวรสชาติพิเศษที่เคี่ยวมาในซุปหอยเม่น ซึ่งจะมีขายเพียง 20 กล่องต่อวันเท่านั้น! ดังนั้นแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าให้มาที่นี่ก่อนจะผิดหวังที่ไม่ได้ชิมของอร่อยๆ
จุดชมวิวบนสะพานโอซาวะ Osawa Bridge
รถไฟชะลอตัวที่สะพาน Osawa (เครดิตรูปภาพ: Sanriku Railway)
ระหว่างการนั่งรถไฟสาย Rias Line เราจะได้รับการต้อนรับด้วยภาพความสวยงามของมหาสมุทรแปซิฟิก จุดชมวิวที่สวยงามอย่างหนึ่งคือบริเวณระหว่างสถานีโฮรินาอิ (堀内駅, Horinai) และสถานีชิราอิไคกัง (白井海岸駅, Shiraikaigan) ซึ่งรถไฟจะแล่นไปตามสะพานโอซาวะ (大沢橋梁, Osawa Bridge) เพื่อให้ผู้โดยสารได้ชื่นชมกับทิวทัศน์และเพลิดเพลินกับการถ่ายรูป
สถานีโฮรินาอิ Horinai ที่สามารถมองเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกได้ (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
เกร็ดน่ารู้: หากคุณเป็นแฟนละครเรื่อง Amachan ของ NHK คุณอาจรู้สึกว่าสถานีโฮรินาอิ ดูคุ้นเคย…ใช่แล้วสถานี Horinai ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครเรื่อง “Sodegahama Station” ซึ่งจะมีท่าเรือประมงและมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ด้านหน้าสถานี ทัศนียภาพของชายฝั่งซันริคุ จากสถานี Horinai แห่งนี้ไม่เป็นสองรองใครอย่างแน่นอน
ในอีกด้านหนึ่งสถานีที่อยู่ใกล้เคียงคือสถานีชิราอิไคกัง (Shiraikaigan) มีชื่อเสียงที่แตกต่างออกไป สถานีชิราอิไคกังไร้คนขับได้รับการจัดอยู่ในอันดับ #10 ของ "สถานีที่เงียบสงบที่สุดของญี่ปุ่น" (秘境駅, Hikyо̄-eki) ประจำปีค.ศ. 2020 และเป็นจุดแวะพักยอดนิยมในหมู่แฟน ๆที่รักการถ่ายภาพรถไฟและผู้ที่ชื่นชอบรถไฟ
สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับแนวโขดหินชายฝั่งที่คิตะยามาซากิ
หน้าผาอันงดงามที่ คิตะยามาซากิ (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
ทำไมต้องมองวิวจากระยะไกลๆด้วยหละ ถ้าเราสามารถเข้าไปดูได้ใกล้ๆ จุดชมวิวที่สวยที่สุดจุดหนึ่งของแนวโขดหินชายฝั่งแห่งนี้คิตายามาซากิ(北山崎, Kitayamazaki) คิตะยามาซากิ แห่งนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นส่วนที่สวยงามที่สุดของแนวโขดหินและเป็นจุดที่สังเกตุได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีหน้าผาสูง 200 เมตรตั้งตระหง่านเป็นแนวชายฝั่งยาวกว่า 8 กิโลเมตร ก่อให้เห็นทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงามและน่าทึ่ง จนทำให้คิตะยามาซากิ ได้รับการขนานนามว่า “เทือกเขาแอลป์แห่งท้องทะเล” (海のアルプス, Alps of the Sea). การชื่นชมกับทัศนียภาพของที่นี่ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ มองจากมุมสูงลงมา และ มองจากมุมด้านล่างขึ้นไป
หากต้องการเพลิดเพลินกับมุมมองจากทางที่สูงให้ไปที่หอดูดาวคิตะยามาซากิ (北山崎展望台, Kitayamzaki Tenbо̄dai) ซึ่งจะมีดาดฟ้าสามชั้นให้คุณได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศ สำหรับคนที่แข็งแรงคุณสามารถลงบันได 736 ขั้นเพื่อลงไปยังจุดเดียวกับน้ำทะเลได้ ตัวหอดูดาวคิตะยามาซากิอยู่ห่างจากสถานีรถไฟทาโนฮาตะ (田野畑駅. Tanohata) ของสาย Sanriku Railway Rias Line โดยใช้เวลานั่งแท็กซี่ประมาณ 10 นาที
หากคุณต้องการเข้าไปใกล้มากกว่านี้ ให้ลองนั่งเรือสำราญ Kitayamazaki Cliff Cruise เรือนำเที่ยวที่จะพาคุณออกสู่ทะเลโดยใช้เวลา 50 นาที เพื่อมองขึ้นไปที่หน้าผาที่สูงตระหง่านจากนอกทะเล…ช่างเป็นภาพที่น่าประทับใจจริงๆ! โดยเรือจะออกจากท่าเรือชิมาโนะโคชิ (Shimanokoshi Port) ซึ่งใช้เวลาเดินแค่เพียง 10 นาทีจากสถานีรถไฟชิมาโนะโคชิ Shimanokoshi (島越駅) ของสาย Sanriku Railway Rias Line
น้ำทะเลใสๆ ที่โจโดกาฮามะ (Jodogahama)
เมื่อเดินทางต่อไปตามเส้นทางรถไฟ Rias Line คุณจะไปถึงสถานีที่ถือได้ว่าเป็นสถานีที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของเส้นทางนี้คือที่ สถานีมิยาโกะ (宮古駅, Miyako Station) สถานที่แห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องตลาดปลาซึ่งฉันจะพูดถึงในส่วนของอาหารในภายหลัง
สถานีรถไฟมิยาโกะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟ JR Yamada Line ซึ่งเชื่อมโยงไปยังเมืองโมริโอกะซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอิวาเตะและเป็นประตูสู่โจโดกาฮามะซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่สวยงามที่สุดตามแนวชายฝั่งซันริคุ
ชายฝั่งที่สวยงามของหาดโจโดกาฮามะ (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
เพียงแค่เรานั่งรถบัส 15 นาทีจากสถานีมิยาโกะ เราก็จะเจอกับหาดโจโดกาฮามะ (浄土ヶ浜, Jо̄dogahama) ซึ่งเป็นจุดที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในอิวาเตะ กล่าวกันว่าชายหาดแห่งนี้มีความสวยงามราวกับสวรรค์ของชาวพุทธ (浄土, Jо̄do) และได้รับการขนานนามว่า “โจโดกาฮามะ”ซึ่งแปลได้ว่า“ชายหาดอันบริสุทธ์” ที่นี่คุณสามารถเพลิดเพลินกับทัศนียภาพอันน่าทึ่งของน้ำทะเลสีฟ้าสงบรอบ ๆ ชายฝั่งหินกรวดสีขาวตัดกับแนวหินตะปุ่มตะปั่มในมหาสมุทร
โจโดกาฮามะยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดินเลียบชายฝั่งมิจิโนกุซึ่งฉันจะพูดถึงเพิ่มเติมในส่วนที่สองของบทความชุดนี้โดยมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูและการสร้างใหม่ในซันริคุ
ชมวิวที่อ่าวคามาอิชิ (Kamaishi)
หลังจากออกจากสถานีมิยาโกะแล้ว สถานีหลักถัดไปตามแนวรถไฟนี้คือ สถานีคามาชิ (Kamashi) ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนไปขึ้นรถไฟ JR Kamaishi Line ได้ และเช่นเดียวกันกับสถานีมิยาโกะ สถานีคามาอิชิยังพึ่งพาอุตสาหกรรมการประมงเป็นอย่างมากและคุณจะพบตลาดปลาในท้องถิ่น Sunfish Kamaishi ซึ่งอยู่ติดกันกับตัวสถานีเลย
Kamaishi Daikannon มองเห็นอ่าว Kamaishi (เครดิตรูปภาพ:岩手県観光協会)
หากว่าที่มิยาโกะมีโจโดกาฮามะซึ่งตั้งชื่อตามสวรรค์ของชาวพุทธแล้ว ที่คามาอิชิมีก็จะมี คามาอิชิไดคังนอน (釜石大観音, Kamaishi Daikannon) ซึ่งเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ของเทพธิดาแห่งความเมตตาในศาสนาพุทธ รูปปั้นซึ่งความสูง 48.5 เมตร. ถือปลาไว้ในอ้อมแขนของเธอและทอดสายตาไปยังอ่าวคามาอิชิเพื่อดูแลและปกปักษ์รักษาลูกเรือและชาวประมง แต่ถ้าหากคุณจ่ายค่าผ่านทางเล็กน้อยคุณก็จะสามารถเข้าไปในรูปปั้นและชมทิวทัศน์มุมกว้างของอ่าวคามาอิชิได้ Kamaishi Daikannon อยู่ห่างจากสถานีรถไฟคามาอิชิมี (Kamaishi) เพียง 10 นาทีเมื่อเดินทางด้วยแท็กซี่
นอกเหนือจากการตกปลาแล้ว รู้หรือไม่ว่าที่คามาอิชิแห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักในเรื่องงานเหล็กและเหล็กกล้า ? ที่คามาอิชิมีการผลิตแร่เหล็กมาตั้งแต่ช่วงยุค ค.ศ. 1850 และว่ากันว่าเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่น โดยคุณสามารถไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ Kamaishi Iron and Steel Museum ได้โดยเดินทางจาก คามาอิชิไดคังนอน (Kamaishi Daikannon) ซึ่งจะใช้เวลาเดินประมาณ 15 นาที
สถานีแห่งความรัก: โคอิชิฮามะ
ชานชาลาที่สถานีโคอิชิฮามะ (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
นั่งรถไฟต่อลงมาทางใต้ เราจะเจอกับอีกสถานีที่มีเรื่องราวพิเศษคือสถานีโคอิชิฮามะ (恋し浜駅, Koishihama Station) ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีปลายทางด้านใต้ของรถไฟสาย Rias Line เพียงสามสถานี เดิมทีชื่อสถานีนี้เขียนว่า 小石浜 (โคอิชิฮามะ) ซึ่งแปลว่า "หาดหินเล็ก ๆ " และสถานีมีคำพูดติดปากว่า "ไอ โนะ อิโซเบะ" (藍の磯辺, ชายทะเลสีคราม) ต่อมาในปีค.ศ. 2009 ด้วยการผลักดันอย่างล้นหลามของคนในพื้นที่ชื่อสถานีจึงถูกเขียนใหม่เป็น 恋し浜 (Koishihama) ซึ่งแปลว่า“ ชายหาดแห่งการตกหลุมรัก” และบทกลอน “ไอ โนะ อิโซเบะ" ถูกเขียนใหม่เป็น 愛の磯辺 (ชายทะเล ของความรัก). ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสถานีโคอิชิฮามะก็ได้กลายมาเป็นจุดรวมพลังสำหรับผู้ที่แสวงหาความรัก
สอดคล้องกับแนวคิด "ระฆังแห่งความสุข" (幸せの鐘, Shiawase-no-kane) ซึ่งถูกสร้างขึ้นที่สถานีในปีค.ศ. 2010 พร้อมกับกล่องไปรษณีย์พิเศษที่ติดตั้งในปีค.ศ. 2014 โดยทั่วไปกล่องไปรษณีย์ในญี่ปุ่นมักจะเป็นสีแดงสด แต่ทว่าที่สถานีโคอิชิฮามะมีการติดตั้งตู้ไปรษณีย์สีชมพูหวาน และว่ากันว่าการโพสต์จดหมายจากตู้ไปรษณีย์สีชมพูจะช่วยให้คุณพบเจอกับความรัก
กระดานอธิษฐานจากเปลือกหอยเชลล์ ภายในสถานี Koishihama (เครดิตรูปภาพ: สถานีพร้อมวิวทะเล 海の見える駅)
แต่ทว่าบางทีของที่ดูเตะตาที่สุดน่าจะเป็นเปลือกหอยเชลล์อีกมากกว่าร้อยๆ หรือ กระดานอธิษฐาน “อิมะ” (絵馬, wishing boards) ที่ตกแต่งสถานี โดยปกติแล้วอิมะจะทำจากไม้เป็นลักษณะทั่วไปของศาลเจ้าในญี่ปุ่นซึ่งผู้คนจะเขียนความปรารถนาและอธิษฐานว่ามันจะเป็นจริง ด้วยการที่โคอิชิฮามะมีชื่อเสียงในการผลิตหอยเชลล์ดังนั้นคุณสามารถเขียนความปรารถนาของคุณลงบนเปลือกหอยเชลล์ และแขวนไว้ที่สถานีนี้ได้ นอกจากการอธิฐานด้านความรักแล้วผู้เยี่ยมชมหลายคนก็เขียนความปรารถนาให้บริเวณซันริคุนี้กลับมาเป็นปกติด้วยเช่นกัน
การเดินทางด้วยรถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line
คุณสามารถเข้าไปเพลิดเพลินกับวิดีโอสั้น ๆ ด้านล่างที่นำเสนอไฮไลท์บางส่วนของรถไฟสาย Sanriku Rias! ได้ ซึ่งวิดีโอดังกล่าวถ่ายทำเพื่อระลึกถึงการเปิดตัวเต็มในเดือนมีนาคม 2019 และมีเพลง "Hana wa saku" (花は咲く, ดอกไม้จะบานสะพรั่ง) เวอร์ชั่นจังหวะพิเศษที่กำลังเล่นอยู่ “ Hana wa saku” เป็นเพลงที่ผลิตโดย NHK เพื่อสร้างการสนับสนุนสาธารณะสำหรับความพยายามในการกู้คืนระบบเมื่อปี 2554
คลิกที่นี่ เพื่อดูวิดีโอบน YouTube เนื่องจากไม่สามารถเล่นได้ในขณะที่ฝังอยู่
ลิ้มรสอาหารทะเลรสเลิศของซันริคุ
ชายฝั่งซันริคุเป็นที่ตั้งของแหล่งตกปลาที่ดีที่สุด 1 ใน 3 อันดับแรกของโลก ที่นี่เป็นจุดที่มีกระแสน้ำอุ่นคุโรชิโอะ (黒潮) มารวมกันกับกระแสน้ำเย็นโอยาชิโอะ (親潮) ทำให้เกิดสภาวะอันอุดมสมบูรณ์ที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลหลากหลายชนิด ภูมิภาคซันริคุ มีการผลิตปลาและอาหารทะเลจำนวนมากที่มีให้เลือกทั้งสายพันธุ์ในประเทศและสายพันธุ์ต่างประเทศดังนั้นจะมีอะไรดีไปกว่าการได้สัมผัสกับซันริคุ ไปมากกว่าการรับประทานอาหารในแบบที่คุณต้องการ?
ไข่หอยเม่น เป็นอาหารอันโอชะที่มีอยู่มากมายในซันริคุ (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
ไข่หอยเม่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของซันริคุ ที่คุณสามารถเพลิดเพลินได้ตามสถานที่ต่างๆตามชายฝั่งซันริคุ ไม่ใช่แค่ผ่านข้าวเบนโตะของสถานี Kuji เท่านั้น อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจในการขายไข่หอยเม่นสดในบางตลาดที่มิยาโกะคือการบรรจุในขวดนมแก้วที่เต็มไปด้วยน้ำทะเล หรือในบางสถานที่คุณสามารถกินไข่หอยเม่นจากเปลือกได้โดยตรงด้วยเช่นกัน!
อาหารในขวด (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
เนื่องจากฉันมีความหลงไหลในสิ่งที่เกี่ยวกับขวดแก้ว มีสิ่งหนึ่งที่ฉันอยากลองมาตลอดตั้งแต่หาข้อมูลเรื่องนี้ ก็คือ Bindon (瓶ドン) ซึ่งแปลว่า“ ชามข้าวขวด” หรืออาหารทะเลบรรจุในขวดแก้วทีละชั้น
นำบินด้งออกจากขวดแล้วโปะลงบนข้าวและอิ่มอร่อยกับอาหารของคุณ (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
เมื่อถึงเวลากินก็นำของในขวดใส่ชามข้าวแล้วก็รับประทาน! แนวคิดของบินด้งคือให้ลูกค้าโปรยพรที่บรรจุขวดของมิยาโกะลงบนชามข้าวโดยที่ของที่บรรจุลงในขวดจะเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับส่วนผสมตามฤดูกาล
นอกจากหอยอย่างหอยเป๋าฮื้ออะวาบิ (アワビ) และหอยเชลล์โฮตาเตะ (帆立หอยเชลล์) แล้วยังมีปลาอื่นๆ เช่นปลาแซลมอน (鮭 Salmon) ปลาซันมะ (さんま sanma) ปลาคัตสึโอะ (カツオ, katsuo) และปลาแมคเคอเรล (サバ, Saba) ก็เป็นสินค้ายอดนิยมสำหรับซันริคุ . อาหารทะเลตามฤดูกาลจะแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนโดยมีตัวเลือกที่แตกต่างกันเพื่อยั่วยวนลิ้นสัมผัสของคุณในช่วงเวลาต่างๆของปี
คิระคิระด้ง ในฤดูหนาว (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
เช่นเดียวกับที่มิยาโกะมีบินด้ง ที่มินามิซังริกุ (南三陸, Minamisanriku) ซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไปทางใต้ตามแนวชายฝั่งก็มีข้าวหน้าทะเลอีกจานที่ดึงดูดสายตาของคนทั่วไปนั่นก็คือ “ คิระคิระด้ง” (キラキラ丼, Kira Kira Don) “ คิระคิระ” หมายถึงการเปล่งประกายหรือเปล่งประกายและหมายถึงอาหารทะเลรสเลิศซึ่งเป็นอัญมณีของแต่ละฤดูกาล
คิระคิระด้ง เป็นข้าวปั้นที่ราดด้วยวัตถุดิบที่ดีที่สุดของแต่ละฤดูกาล (อัญมณีของแต่ละฤดูกาล) และไข่ปลาแซลมอน (いくら, ikura) เป็นอาหารหลักสำหรับฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) คิดเหมือนกันหรือไม่? หากมองผ่านๆแล้ว อิคุระหลายสิบชิ้น (บางครั้งอาจเป็นร้อย!) ที่อยู่บนชามนั้นมีลักษณะคล้ายกับอัญมณีสว่างไสวแวววาว? ไข่หอยเม่น เป็นอัญมณีแห่งฤดูร้อน (พฤษภาคม - สิงหาคม) ในขณะที่ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม - เมษายน) และฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน - ตุลาคม) มีส่วนผสมของวัตถุดิบตามฤดูกาลมากมายที่ถูกบรรจุลงในชาม
ราเม็งชายทะเล (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
หากคุณไม่ชอบทานอาหารดิบหรือชอบอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ต้องลองไปทาน อิโซะราเมน (磯ラーメン, Iso Ramen) ซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยวประจำภูมิภาคที่ทำจากคอนบุหรือน้ำซุปเกล็ดโบนิโตะเป็นหลักและราดด้วยอาหารทะเลคุณภาพ ชื่อของมันมีความหมายว่า "ราเม็งชายทะเล" และแม้ว่าส่วนประกอบของแต่ละร้านอาจจะแตกต่างกัน แต่คุณสามารถคาดหวังไว้ได้เลยว่าจะได้เจอกับท็อปปิ้ง พวก ปลาหมึก,กุ้ง และหอยเชลล์ และถ้าเป็นระดับไฮเอนด์ขึ้นไป อาจมีเนื้อปูและอูนิ รวมอยู่ด้วย ... น่าอร่อยจัง!
โฮยะราเมน (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
ราเม็งอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของซันริคุ ซึ่งอาจจะดูแปลกกว่าเล็กน้อยนั่นคือ โฮยะราเมน (ホヤラーメン, Hoya Ramen) โฮยะ (ほや) หรือ สับปะรดทะเล เป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่งที่มักนิยมรับประทานเป็นซาซิมิร่วมกับเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตามในจานนี้คุณจะได้ลิ้มลองโฮยะปรุงสุกพร้อมกับซุปเกลือที่เติมเต็มรสชาติตามธรรมชาติของโฮยะ
ผสมผสานกลิ่นของทะเลจากสาหร่ายวากาเมะ (ワカメ) และรสชาติอันนุ่มนวลจากโฮยะ ทำให้ราเม็งชามนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบพรแห่งท้องทะเล (海の恵み, Umi-no-megumi)ให้กับผู้ที่รับประทาน โฮย่าราเมนเป็นอาหารต้นตำรับจากร้านTaneichi (種市) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของชายฝั่งซันริคุ
ตามหาอาหารทะเลสดๆ ที่ตลาดปลาซันริคุ
ปลาสดๆที่ตลาดปลามิยาโกะ (เครดิตรูปภาพ: 宮古観光文化交流協会)
อยากกินปลาที่จับมาใหม่ไหม? ให้ตรงไปที่ตลาดอาหารทะเลหลายแห่งของซันริคุเพื่อจับปลาสดใหม่ประจำวัน เนื่องจากการตกปลาเป็นอุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคซันริคุคุณจึงสามารถหาตลาดปลาสดได้เกือบทุกที่ ท่าเรือและตลาดปลามักจะอยู่ใกล้กันดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้ว่าสินค้าที่คุณเห็นนั้นสดมาก
ตลาดที่ใหญ่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งที่ให้บริการในภูมิภาคนี้คือตลาดปลามิยาโกะ (宮古市魚菜市場, Miyako-shi Gyosai Ichiba) เดินแค่เพียง 10 นาทีจากสถานีรถไฟมิยาโกะ ตลาดปลามิยาโกะบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “ห้องครัวของมิยาโกะ” โดยเน้นถึงความสำคัญของชุมชนในท้องถิ่น ตลาดไม่เพียงขายปลา แต่ยังมีผักและผลไม้ที่ปลูกในท้องถิ่นอีกด้วย ไข่หอยเม่น ปลาแซลมอนและไข่ปลาเป็นสินค้าอันดับต้น ๆ ของตลาดแห่งนี้และยังเป็นที่ที่คุณจะพบกับไข่หอยเม่นสดที่ขายในขวดแก้วรวมถึงสามารถมาหาลองบินด้งได้ที่นี่ด้วย
ตลาดปลามิยาโกะ Miyako Fish Market (宮古市魚菜市場)
ที่ตั้ง: 1-1 Satsuki-cho, Miyako-shi, Iwate 027-1522
การเดินทาง: เดิน 10 นาทีจากสถานีรถไฟ Miyako
เวลาเปิดทำการ: 06: 30 –17: 30 น. ( ปิดทุกวันพุธและในวันหยุดสิ้นปีช่วงปี )
Sunfish Kamaishi (เครดิตรูปภาพ: 東北観光推進機構)
ตลาดปลายอดนิยมอีกแห่งคือที่ ตลาดปลา Sunfish Kamaishi (サン ・ フィッシュ釜石) ซึ่งเป็นอาคารสองชั้นห่างจากสถานี Kamaishi โดยใช้เวลาเดินเพียง 1 นาที หลังจากซื้อปลาสดจากตลาดที่ชั้น 1 แล้วคุณสามารถตรงไปที่ร้านอาหารมากมายและเช่าชุดย่างเพื่อปรุงปลาของคุณเอง! ในราคาเพียง 500 เยนคุณสามารถเช่าชุดปิ้งย่างที่ประกอบด้วยตะแกรงที่คีบถุงมือจานกระดาษตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งและซีอิ๊ว
ตลาดปลาซันฟิชคามาอิชิ Sunfish Kamaishi (サンフィッシュ釜石)
ที่ตั้ง: 2-1 Suzukocho, Kamaishi, Iwate 026-0031
การเดินทาง: เดิน 1 นาทีจากสถานี Kamaishi
เวลาเปิดทำการ: 07: 00–16: 00 น. (ปิดทุกวันพุธ , และวันอื่นๆ อาจะมีการเปลี่ยนแปลง )
รถไฟท่องเที่ยว
ตามแนวชายฝั่งซันริคุ คุณสามารถเปลี่ยนไปยังรถไฟ JR East Joyful Trains ที่แตกต่างกันสามขบวนซึ่งจะทำให้การเดินทางด้วยรถไฟสนุกยิ่งขึ้น รถไฟทั้งสามขบวนนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ที่พวกเขาวิ่งอยู่ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2554
รถไฟ The POKÉMON with YOU Train. (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)
รถไฟ POKÉMON with YOU Train ซึ่งวิ่งระหว่างสถานีอิชิโนเซกิ และสถานีเคเซนนุมะ เริ่มต้นในปี 2012 เพื่อคืนรอยยิ้มให้กับเด็ก ๆ ในภูมิภาคโทโฮคุ ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิและแผ่นดินไหวในปี 2011 ที่ สถานีเคเซนนุมะ Kesennuma รถไฟสาย JR Ofunato เชื่อมต่อกับ BRT สองสาย คุณสามารถอ่านบทความก่อนหน้าของฉันเกี่ยวกับการเดินทางด้วยรถไฟขบวนนี้ได้ที่นี่
รถไฟ The TOHOKU EMOTION (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)
รถไฟ TOHOKU EMOTION วิ่งระหว่างสถานีฮาชิโนเฮะ และ สถานีคุจิ รถไฟTOHOKU EMOTION (東北エモーション) เป็นรถไฟร้านอาหารรสเลิศที่สร้างขึ้นในปี 2013 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ซันริคุและให้ทัศนียภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจจากหน้าต่างรถไฟ ที่สถานีคุจิ รถไฟสาย JR Hachinohe เชื่อมต่อกับ Sanriku Railway Rias Line คุณสามารถอ่านบทความก่อนหน้าของฉันเกี่ยวกับการเดินทางด้วยรถไฟขบวนนี้ได้ที่นี่
รถไฟ SL Ginga (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh
รถไฟ SL Ginga ได้รับการบูรณะจากรถไฟหัวรถจักรไอน้ำ C58 239 SL Ginga ซึ่งวิ่งระหว่างสถานีฮานามากิ และสถานีคามาอิชิ เริ่มต้นในปี 2014 เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติหลังจากภัยพิบัติในปี 2554 ที่สถานีคามาอิชิ รถไฟสาย JR Kamaishi เชื่อมต่อกับ Sanriku Railway Rias Line คุณสามารถอ่านบทความก่อนหน้าของฉันเกี่ยวกับการเดินทางด้วยรถไฟขบวนนี้ได้ที่นี่
ภายในรถไฟเที่ยวชมตามฤดูกาลของ Sanriku Railway (เครดิตรูปภาพ: 岩手県観光協会)
นอกจาก Joyful Trains ของ JR East แล้วรถไฟ Sanriku Railway ยังมีรถไฟเที่ยวชมตามฤดูกาลของตัวเองตามเส้นทาง Rias อื่นๆอีก เช่นรถไฟ Kotatsu (こたつ列車, Kotatsu Ressha) ที่มีผ้าห่มอุ่นโคทัตสึ (こたつ) ในฤดูหนาว (ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) หรือ รถไฟSanchoku (産直列車, Sanchoku Ressha) ซึ่งสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นขายโดยตรงบนรถไฟเปลี่ยนรถไฟให้กลายเป็นตลาดเคลื่อนที่
ภายนอกของรถซีรีส์ 36-Z (เครดิตรูปภาพ: Sanriku Railway)
เกร็ดน่ารู้: หมายเลขรุ่นรถไฟของ Sanriku Railway เริ่มต้นด้วย“ 36” ซึ่งเป็นเสียงที่เล่นกับ“ Sanriku”! ปัจจุบันรุ่นที่ใช้สำหรับการใช้งานปกติ ได้แก่ ซีรีส์ 36-100 ซีรีส์ 36-200 และซีรีส์ 36-700 ใหม่ล่าสุด นอกจากนี้ยังมีรถพิเศษซีรีส์ 36-Z ซึ่งมีที่นั่งสไตล์ญี่ปุ่น (座敷席, zashikiseki) ที่ใช้สำหรับกิจกรรมพิเศษเช่นรถไฟโคทัตสึ ทั้งซีรีส์ 36-700 และซีรีส์ 36-Z ผลิตขึ้นเพื่อรองรับสึนามิและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นตะวันออกโดยได้รับความช่วยเหลือจากคูเวต
รถบัสด่วนพิเศษ
BRT วิ่งไปตามชายฝั่งซันริคุ ระหว่างสถานีSakari และ สถานีMaeyachi (เครดิตรูปภาพ: JR East)
รถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line ends สิ้นสุดที่สถานี Sakari แต่ที่นี่เชื่อมต่อกับรถ BRT(รถบัสด่วนพิเศษ) ของ JR East BRTเป็นรถโดยสารที่ใช้รางรถไฟเดิมบางส่วนซึ่งไม่ได้สร้างขึ้นใหม่หลังจากเกิดภัยพิบัติ การเปลี่ยนไปใช้ระบบบัสอนุญาตให้มีความถี่มากขึ้นซึ่งให้บริการแก่ชุมชนท้องถิ่นได้ดีขึ้น
รถบัสด่วนพิเศษ แบ่งออกเป็นสองส่วนซึ่งเข้าร่วมที่สถานี Kesennuma ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนไปยังรถไฟสาย JR East:
- BRT Ofunato Line: เริ่มต้นจากสถานีซาการิ ถึงสถานีเคเซนนุมะ (85 นาที 43.7km)
- BRT Kesennuma Line: เริ่มต้นจากสถานีเคเซนนุมะ ถึง สถานีมาเอะยาจิ (140 นาที 72.8km)
คอยติดตามตอนที่ 2 ของบทความชุดนี้ซึ่งเราจะสำรวจเส้นทางเดินเลียบชายฝั่งมิจิโนกุ รวมถึง ริกุเซนทากาตะ (陸前 —) หนึ่งในสถานที่ที่ BRT ผ่านและยังเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งจากสึนามิเมื่อปี 2011
การเดินทาง
สถานีคุจิ (สถานีต้นทาง ทางเหนือของรถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line)
- จากโตเกียวนั่ง Tohoku Shinkansen ไปยังสถานีฮาชิโนเฮะ (2 ชั่วโมง 45 นาที) จากนั้นเปลี่ยนเป็น JR Hachinohe Line ไปยังสถานีคุจิ (1 ชั่วโมง 40 นาที)
สถานีซาการิ (สถานีปลายทาง ทางใต้ของรถไฟสาย Sanriku Railway Rias Line)
- จากโตเกียวนั่ง Tohoku Shinkansen ไปยังสถานีอิชิโนเซกิ (2 ชั่วโมง) ต่อสาย JR Ofunato ไปยังสถานีเคเซนนุมะ (85 นาที) จากนั้นเปลี่ยนเป็น BRT สาย Ofunato ไปยังสถานีซาการิ (85 นาที)
JR EAST PASS (Tohoku area) และ พื้นที่การใช้งาน (เครดิตรูปภาพ: JR East)
หากคุณกำลังจะเดินทางไปเที่ยวที่ภูมิภาคโทโฮคุเพื่อสำรวจบริเวณแหลมซันริคุ ลองศึกษาบัตร JR EAST PASS (Tohoku area) ซึ่งเป็นบัตรโดยสารราคาประหยัดที่ให้บริการรถไฟ JR สายตะวันออกได้ไม่จำกัด (รวมถึงรถไฟชินคันเซน) ในพื้นที่ ได้เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ราคาเพียง 20,000 เยนเท่านั้น ซึ่งเทียบแล้วค่าบัตรยังราคาถูกกว่าค่าตั๋วโดยสารไปกลับระหว่างโตเกียวและคุจิ (~ 34,000 เยน) คุณยังสามารถจองที่นั่งสำหรับรถไฟชินคันเซน,รถไฟด่วนพิเศษบางขบวน และรถไฟ Joyful Trains ผ่านทางออนไลน์ได้ฟรีล่วงหน้าสูงสุด 1 เดือน ที่นี่ JR EAST PASS (Tohoku area) สามารถใช้กับประตูตรวจตั๋วอัตโนมัติได้แล้ว และผู้ถือที่หนังสือเดินทางต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นก็มีสิทธิ์ใช้บัตรนี้ได้เช่นกัน
หมายเหตุ: ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการใช้งานและราคาของ JR EAST PASS (Tohoku area) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบ ที่นี่
แม้ว่ารถไฟสาย Sanriku Rias จะไม่ครอบคลุมโดย JR EAST PASS (Tohoku area) แต่ Sanriku Railway ก็มีตั๋ว 1 วันและ 2 วันที่หลากหลายซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้ที่นี่
ครดิตรูปภาพส่วนหัว: หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ