Japan Rail Times
The
Rail Way
to Travel
Rail Travel

เทศกาลแห่งดวงดาวที่มีมนต์ขลังที่สุด : เทศกาล เซนไดทะนะบะตะ

เทศกาลแห่งดวงดาวที่มีมนต์ขลังที่สุด :  เทศกาล เซนไดทะนะบะตะ

ฤดูร้อนในญี่ปุ่นเป็นฤดูแห่งเทศกาลโดยจะมีการจัดงานเทศกาลมากมายทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามหนึ่งในสิ่งที่มีเสน่ห์ และยอดเยี่ยมที่สุดและเป็นหนึ่งในรายการโปรดส่วนตัวของฉันนั่นก็คือ เทศกาลเซนไดทะนะบะตะ (仙台七夕祭りเซนไดทะนะบะตะมัตสึริ) ไฮไลท์ของเทศกาลนี้ คือ การประดับประดาสีสันสดใส ด้วยมือไปทั่วเมืองซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาอย่างจริงใจของคนในท้องถิ่น!

 

ทะนะบะตะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เทศกาลแห่งดวงดาว (星祭り hoshi matsuri) และมีต้นกำเนิดมาจากเทศกาล Qixi (七夕) ของจีน เป็นการเฉลิมฉลองการพบกันของคู่รักที่มีชื่อเสียงอย่าง ฮิโคโบชิ คนเลี้ยงวัว ( Cowherd Hikoboshi (彦星) และ โอริฮิเมะ เจ้าหญิงทอผ้า (Weaver Girl Orihime (織姫) ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านดวงดาวที่สว่างที่สุดสองดวงในท้องฟ้ายามค่ำคืนนั่นคือ Altair และ Vega ตามตำนานกล่าวว่าคู่รักทั้งสองแยกจากกันด้วยแม่น้ำสวรรค์ (ทางช้างเผือก) และพบกันได้ปีละครั้ง ในวันที่ 7 ของเดือน 7 เท่านั้นนั่น คือ เทศกาลแห่งดวงดาว

 

การตกแต่งทะนะบะตะที่สถานี JR Sendai (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

เทศกาลเซนไดทะนะบะตะเป็นหนึ่งในเทศกาลทะนะบะตะที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในญี่ปุ่น และมีบางสิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากที่อื่น ๆ ในหลายพื้นที่ของญี่ปุ่นจะมีการเฉลิมฉลองวันทะนะบะตะในเดือนกรกฎาคม (เดือนที่ 7) แต่ในเซนไดจะมีการเฉลิมฉลองวันทะนะบะตะระหว่างวันที่ 6–8 สิงหาคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลของเทศกาลเก่าที่เป็นไปตามปฏิทินที่ช้ากว่าปฏิทินจีนเก่าหนึ่งเดือน (ตามปฏิทินจันทรคติแบบจีน) เทศกาลทะนะบะตะของเซนไดยังมีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับเทศกาลนานัตสึคาซาริ (七つ飾り) โดยการประดับตกแต่งเจ็ดชิ้นแต่ละชิ้นเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่แตกต่างกัน

 

ภาพการตกแต่ง Fukinagashi พร้อมข้อความสำหรับการฟื้นตัวของโทโฮคุ Tohoku ในปี 2011 (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

ทั้งเซนไดและเทศกาลทะนะบะตะถือเป็นสถานที่พิเศษในใจของฉันและประกอบเป็นความทรงจำที่ดีที่สุดของฉันเกี่ยวกับญี่ปุ่น ครั้งแรกที่ฉันได้สัมผัสกับเทศกาลเซนไดทะนะบะตะ คือในเดือนสิงหาคม 2011 ในขณะที่ฉันอยู่ในโครงการอาสาสมัครสำหรับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น ทางตะวันออก เมื่อปี 2011 (東日本大震災 Higashinihon daishinsai) แม้ว่าฉันจะยังคงไปเยี่ยมเซนไดหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ภาระผูกพันในการทำงานทำให้ฉันไม่สามารถไปในช่วงเทศกาลทะนะบะตะได้ อย่างไรก็ตามการกลับมาชมเทศกาลทะนะบะตะอีกครั้งก็ยังคงเป็นสิ่งที่ฉันอยากทำมาตลอดและในที่สุดในปี 2019 ฉันก็ได้สัมผัสกับเทศกาลที่น่าหลงใหลนี้อีกครั้ง

 

Tanzaku ที่ฉันเขียนในปี 2011 (ซ้าย) และในปี 2019 (ขวา) (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa)

 

ประเพณีที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่างหนึ่งของเทศกาลทะนะบะตะ คือ การเขียนคำอธิฐานและข้อความแสดงความขอบคุณ ลงบนแผ่นกระดาษบาง ๆ ที่เรียกว่า tanzaku (短冊) ซึ่งแขวนไว้บนไม้ไผ่ ในช่วงเทศกาลทะนะบะตะคุณจะพบการประดับไม้ไผ่เหล่านี้รอบ ๆ สถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ฯลฯ โดยมีแถบกระดาษให้คุณเขียนความปรารถนา ตัว Tanzaku ยังเป็นหนึ่งใน ของตกแต่งขนาดเล็ก 7 อย่างที่เรียกรวมกันว่า "ของตกแต่งทั้งเจ็ด" (7つ飾り / nanatsu-kazari)  ของเทศกาลเซนไดทะนะบะตะ

 

 

การตกแต่งคินชากุขนาดใหญ่ ที่ตกแต่งเป็นนกฟีนิกซ์ (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

สิ่งต่อไปสำหรับของตกแต่งทั้งเจ็ดใน nanatsu kazari คือ คินชากุ (巾着) เป็นกระเป๋าที่แสดงถึงความมั่งคั่ง - ทั้งความมั่งคั่งทางการเงินและความมั่งคั่งของจิตใจ

 

การทำของประดับคินชากุ (ซ้าย) และของประดับ nanatsu kazari ขนาดจิ๋ว (ขวา) (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

เมื่อตอนที่ฉันไปเที่ยว ตอนปี 2011 คุณชิบะ เป็นอาจารย์ผู้หญิงในท้องถิ่น ได้สอนวิธีการตกแต่งทะนะบะตะและยังอธิบายความหมายที่อยู่เบื้องหลังของแต่ละชิ้นอีกด้วย มันเป็นประสบการณ์ที่ฉันจะจดจำไปตลอด ถึงตอนนี้ฉันก็ยังเก็บของประดับตกแต่งขนาดเล็กและคินชากุที่ฉันทำในตอนนั้นไว้อยู่เลย !

 

ภาพถ่ายคู่กับอาจารย์ชิบะ กับ nanatsu kazari บางส่วนในเจ็ดอย่างที่อยู่ข้างหลังเรา และก็มีบางส่วนที่ไม่อยู่ในภาพด้วย (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

Toami (投網) เปรียบเป็นตาข่ายสำหรับขอให้จับปลาได้ดี ( ขอให้กิจการรุ่งเรื่อง) และเพื่อความโชคดี ในขณะที่ kuzukago (屑籠) เป็นถังขยะที่เป็นสัญลักษณ์ของความสะอาดและความมัธยัสถ์ Kamigoromo (紙衣) เป็นกิโมโนกระดาษที่ช่วยปัดเป่าสุขภาพที่ไม่ดี ในขณะที่ orizuru (折鶴) เป็นนกกระเรียนกระดาษที่เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาวและความหวัง - เชื่อกันว่าการพับนกกระเรียนกระดาษหนึ่งพันตัวจะทำให้ความปรารถนาของคุณเป็นจริง

 

ของตกแต่งฟุคินากาชิ (fukinagashi) ที่ทำจากนกกระเรียนกระดาษพับโดยเด็กประถม (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

ฟุคินากาชิ (吹き流し-fukinagashi ) เป็นสายรุ้งประดับ เป็นสัญลักษณ์ของโอริฮิเมะ เจ้าหญิงทอผ้า ( Weaver Girl Orihime) เพื่อขอในเรื่องของการพัฒนาทักษะงานหัตถกรรม เป็นของตกแต่งหลักสำหรับเทศกาลเซนไดทะนะบะตะ โดยมีฟุคินากาชิที่สวยงามประดับตกแต่งกว่า 3,000 ชิ้น เรียงรายอยู่ห่างจากย่านช้อปปิ้งยาวถึง 1.7 กิโลเมตร ระหว่างสถานีเซนได Sendai (仙台駅) และสถานีรถไฟใต้ดิน KōtōdaiKōen (勾当台公園駅)

 

ฟุคินากาชิที่ทำมาจากฝีมือของเด็ก ๆ ในท้องถิ่น (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

ฟุคินากาชิ ส่วนใหญ่เป็นงานแฮนด์เมดและในช่วงเทศกาลจะมีการแข่งขันที่มอบรางวัลให้กับการตกแต่งฟุคินากาชิที่สวยงามและสร้างสรรค์ที่สุด ทุกวันนี้ฟุคินากาชิจำนวนมากเป็นงานฝีมือของกลุ่มชุมชนในท้องถิ่นและถูกแขวนไว้ให้ดูเหมือนว่าพวกมันตกลงมาจากท้องฟ้า

 

ฟุคินากาชิ เมื่อปี 2011 ตกแต่งด้วย origami และข้อความที่เด็ก ๆ เขียน ด้านซ้ายเป็นข้อความจากเด็กขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือที่โลกมอบให้โทโฮคุ (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

สำหรับฉัน การประดับตกแต่งฟุคินากาชิเป็นส่วนที่ดีที่สุดของเทศกาล เนื่องจากทั้งชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างของประดับ เขียนความหวังและความปรารถนาของพวกเขา นอกเหนือจากการดึงดูดสายตาแล้ว การได้อ่านข้อความบนฟุคินากาชิยังทำให้หัวใจของฉันอบอุ่น ในปี 2011 ธีมของเทศกาลคือ "การฟื้นตัว" เนื่องจากเพิ่งเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิมาเพียง 5 เดือนก่อนหน้า ข้อความหนึ่งที่ติดค้างสำหรับฉันเป็นพิเศษ คือ ข้อความที่เด็กเขียนด้วยลายมือว่า「世かいのたくんのえん助ありがうございます。」ซึ่งแปลว่า「ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือทั้งหมดจากทั่วโลก」

 

ภาพถ่ายเวียนตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: fukinagashi by Itoen, Musubimaru fukinagashi, fukinagashi โดย Japan Airlines, fukinagashi ในรูปโคเคชิและ fukinagashi โดย Don Quixote (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นฟุคินากาชิที่สร้างโดยโรงเรียนและจากห้างร้าน หรือธุรกิจในท้องถิ่น และฟุคินากาชิบางตัวทำในรูปแบบของไอคอนท้องถิ่น เช่น ตุ๊กตาไม้โคเคชิที่เป็นงานฝีมือที่มีชื่อเสียงของมิยางิ หรือ มุสึบิมารุ (むすび丸) ตัวมาสคอตของเมืองเซนได ส่วนอื่น ๆ มีงานศิลปะโอริกามิที่ซับซ้อน และมันทำให้ฉันรู้สึกซาบซึ้งตลอดเวลา และความพยายามในการสร้างสรรค์สิ่งประดับเหล่านี้เพื่อสร้างความประทับใจและความเพลิดเพลินของผู้ที่ได้มาเยี่ยมชม

 

Hagi no Tsuki ในกล่อง Tanabata Festival แบบลิมิเต็ดอิดิชั่น (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

เฉพาะในช่วงเทศกาลทะนะบะตะเท่านั้นคุณจะพบกับ Hagi no Tsuki (萩の月) ของฝากที่มีชื่อเสียงที่สุดของเซนได ในบรรจุภัณฑ์ทะนะบะตะรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น ฮากิ (萩พุ่มไม้จำพวกถั่ว) เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดของจังหวัดมิยางิ Hagi no Tsuki เป็นครีมคัสตาร์ดที่ห่อด้วยแป้งสปันจ์เค้กเนื้อนุ่มฟูซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพระจันทร์แห่งการเก็บเกี่ยว เนื่องจากคัสตาร์ดมักจะมีวันหมดอายุภายใน 1-2 สัปดาห์ ดังนั้นอย่าลืมเช็ควันหมดอายุของขนมให้ใกล้กับวันจบทริปของคุณให้มากที่สุดนะ !

 

การจุดดอกไม้ไฟของเทศกาลเซนได ทะนะบะตะ จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 5 สิงหาคมในคืนก่อนงานเทศกาลจะเริ่มขึ้น (เครดิตรูปภาพ: เมืองเซนได)

 

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมจากชุมชนต่างๆ ในย่านใจกลางเมืองในช่วงเทศกาลรวมถึงการแสดงบนเวที (ดนตรีสดการเต้นรำแบบดั้งเดิม) และผู้ขาย (อาหารเครื่องดื่มและเกม) ในวันที่ 5 สิงหาคมในคืนก่อนงานเทศกาลจะเริ่มขึ้นจะมีการแสดงดอกไม้ไฟอันงดงามริมฝั่งแม่น้ำฮิโรเสะซึ่งจะมีการจุดพลุดอกไม้ไฟ 16,000 ดอกเพื่อเป็นการเปิดเริ่มงานเฉลิมฉลอง

 

คลิปบรรยากาศระหว่างเดินอยู่ในท่ามกลางการตกแต่งของเซนไดทะนะบะตะ  (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa)

 

เทศกาลเซนได ทะนะบะตะ นั้นงดงามและเป็นภาพที่น่าประทับใจจริงๆ ทั้งชุมชนจะมารวมตัวกันเพื่อทำการตกแต่งเพื่อให้งานปีละครั้งนี้เป็นงานที่สนุกสนาน ไม่ยากที่จะเห็นว่าทำไมเทศกาลเซนได ทะนะบะตะ จึงเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดในโทโฮคุ ซึ่งสามารถดึงดูดผู้คนได้หลายล้านคนต่อปี

 

ด้านในของพิพิธภัณฑ์ทะนะบะตะ (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa)

 

หากคุณไม่สามารถเข้าชมในช่วงเทศกาลทะนะบะตะได้ แต่ยังต้องการชมการตกแต่งของฟุคินากาชิให้ไปที่พิพิธภัณฑ์ทะนะบะตะซึ่งมีการจัดแสดงฟุคินากาชิที่ใช้ในเทศกาลทะนะบะตะของปีก่อน ๆ คุณยังสามารถลองทำ nanatsu kazari ด้วยตัวเองได้ในราคา 1,500 เยนต่อคน ต้องจองล่วงหน้าได้ที่ + 81-22-238-7170

 

หากต้องการไปที่พิพิธภัณฑ์ทะนะบะตะให้นั่งรถไฟใต้ดินสายโทไซ (地下鉄東西線) จากสถานีเซนไดไปยังสถานีอาราอิ (荒井駅) แล้วนั่งรถบัส หมายเลข # 16 หรือหมายเลข  # 18 แล้วลงที่ป้าย Oroshimachi Higashi Go-chome Kita (卸町東 五丁目北) ซึ่งคุณจะเห็น Kanezaki Sasakamakan (鐘崎笹かま館) อยู่ตรงหน้าคุณ พิพิธภัณฑ์ทะนะบะตะอยู่ข้างๆ Kanezaki Sasakamakan พิพิธภัณฑ์เปิดตั้งแต่ 09: 30 ~ 18: 00 น. และค่าเข้าชม 800 เยน สำหรับผู้ใหญ่

 

3.11 Tohoku support stickers. (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa)

 

ตอนฉันไปเที่ยวโทโฮคุครั้งแรกในปี 2011 ฉันพบว่าที่นี่เป็นสถานที่ที่มีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยผู้คนที่น่าทึ่ง และ มันทำให้ฉันเสียใจมากที่มีคนจำนวนมากหลีกเลี่ยงที่จะมาทั้งภูมิภาคนี้หลังจากเกิดภัยพิบัติครั้งที่ 3.11 และยิ่งทำให้เรื่องแย่ลง เมื่อสื่อไม่ได้แสดงภาพสะท้อนสถานการณ์ที่ถูกต้องเสมอไป โดยเลือกเฉพาะเนื้อหาที่จะมุ่งเน้นและเล่นเรื่องราวที่เลวร้ายที่สุด โดยไม่รู้เลยดีกว่า ว่ามวลชนเขาได้เหมารวมพื้นที่ทั้งภูมิภาคโทโฮคุ ทำให้แต่ละแห่งทั้งที่ได้รับผลกระทบ หรือ ไม่ได้รับผลกระทบ ถูกมองเป็นเหมือนกันหมดว่า "ไม่ปลอดภัย"   “  ตาย" และ "ไม่มีอะไรที่นั่น"

 

และฉันก็ยังทำมาโดยตลอดตั้งแต่ที่ฉันได้มาที่นี่ตั้งแต่ครั้งแรก ฉันยังคงบอกต่อให้เพื่อน,ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน แวะมาที่ภูมิภาคโทโฮคุเพื่อชมทิวทัศน์ที่น่าตื่นตาตื่นใจอาหารและประสบการณ์ทางวัฒนธรรมทั้งหมดที่มีให้ด้วยตัวเอง ตอนนี้ 9 ปีหลังจากเกิดภัยพิบัติ ภูมิภาคโทโฮคุก็เริ่มกลับสู่ลิสต์รายการของสถานที่ท่องเที่ยวและยังเป็นอันดับ 3 ใน Lonely Planet’s Best in Travel 2020!

 

เรียงลำดับภาพตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: Aomori Nebuta Festival, Yamagata Hanagasa Festival, Akita Kanto Festival, and Morioka Sansa Odori. (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

ถ้าทำได้ ฉันขอแนะนำให้ไปเที่ยวโทโฮคุ ในช่วงฤดูร้อน ตอนที่เมืองต่างๆ จะดูมีชีวิตชีวาขึ้นด้วยเทศกาลของพวกเขา! นอกเหนือจากเทศกาลเซนไดทะนะบะตะแล้ว โทโฮคุยังมีเทศกาลฤดูร้อนที่น่าตื่นตามากมายในสัปดาห์เดียวกันที่ยิ่งใหญ่และสนุกสนานไม่แพ้กัน อย่าง เทศกาล Aomori Nebuta Festival (青森ねぶた祭り), เทศกาล Akita Kanto Festival (秋田竿燈祭り) , เทศกาล Morioka Sansa Odori (盛岡さんさ踊り), และ Yamagata Hanagasa Festival (山形花笠祭り).

 

ปฏิทินเทศกาลฤดูร้อนที่สำคัญของโทโฮคุ (เครดิตรูปภาพ: JR East / Carissa Loh)

 

หากคุณคิดจะเที่ยวเทศกาลฤดูร้อนรอบ ๆ โทโฮคุ คุณสามารถเยี่ยมชมเทศกาลต่าง ๆ ได้ในทุกวัน ในปี 2019 ฉันได้ไปชมเทศกาลฤดูร้อนที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 5 ของโทโฮคุรวมถึง เทศกาลดอกไม้ไฟนากาโอกะ (長岡花火大会) ของเมืองนีงาตะในทริปเดียวกัน และคุณสามารถเที่ยวชมเทศกาลได้มากขึ้นอีกถ้าคุณอัดเทศกาลท้องถิ่นอื่นๆ เข้าไปด้วย.

 

เพราะความเป็นจริงแล้ว การเที่ยวเก็บงานเทศกาล นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในท้องที่ก็นิยมทำกัน แต่โดยทั่วไปแล้วอาจเที่ยวประมาณสองถึงสามเทศกาลในช่วงสุดสัปดาห์ 3 วัน

เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงนี่คือแผนการเดินทางปี 2019 ของฉัน:

03 สิงหาคม | เทศกาลดอกไม้ไฟนางาโอกะ
04 สิงหาคม | โมริโอกะซันซาโอโดริ
05 สิงหาคม | เทศกาลอาคิตะคันโต
06 สิงหาคม | เทศกาลเซนไดทะนะบะตะ (AM) และ ยามากาตะ ฮานะกาซะ (PM)
07 สิงหาคม | เทศกาลอาโอโมริเนบุตะ (A.M. ชมขบวนพาเหรด,.PM  ชมขบวนแห่เรือ + ดอกไม้ไฟ)

 

การเดินทาง

จากสถานี JR Tōkyō (東京駅) นั่งรถไฟชินคันเซน สายTōhoku Shinkansen ใช้เวลาเดินทาง 90 นาที ลงที่สถานี JR Sendai (仙台駅)  จุดที่จัดแสดงของตกแต่ง ฟุคินากาชิ ก็ใช้เวลาเดินเพียง 2 นาที จากสถานีเซนได ( Sendai Station ) จัดตกแต่งเป็นระยะยาวถึง 1.7 กม. จนถึงสถานีรถไฟใต้ดิน KōtōdaiKōen (勾当台公園駅) ที่หอการค้าและอุตสาหกรรมเซ็นไดมี แผนที่ภาษาอังกฤษ สำหรับสถานที่จัดงานเทศกาล

 

JR EAST PASS (Tohoku area)

ตัวอย่าง JR EAST PASS (Tohoku area) และพื้นที่การใช้งาน (เครดิตรูปภาพ: JR East)

 

หากคุณกำลังจะมาเที่ยวที่เซนไดและภูมิภาคโทโฮคุ โปรดศึกษาข้อมูลของ JR EAST PASS (Tohoku area)  ซึ่งเป็นบัตรโดยสารราคาประหยัดที่ให้บริการรถไฟ JR สายตะวันออกได้ไม่ จำกัด (รวมถึงรถไฟชินคันเซน) ในพื้นที่ ที่ใช้ได้ 5 วันติดต่อกัน ในราคาเพียง 20,000 เยนเท่านั้น ซึ่งเทียบแล้วค่าบัตรยังราคาถูกกว่าค่าตั๋วโดยสารไปกลับระหว่างโตเกียวและเซ็นไดอีก (~ 23,000 เยน) คุณยังสามารถจองที่นั่งสำหรับรถไฟชินคันเซน ,รถไฟด่วนพิเศษบางขบวน และ รถไฟ  Joyful Trains ทางออนไลน์ได้ฟรีล่วงหน้าสูงสุด 1 เดือน ที่นี่ หลังจากสำรวจเซนไดแล้ว คุณยังสามารถใช้บัตรนี้เพื่อไปเที่ยว ยังจังหวัดใกล้เคียงได้อย่าง จังหวัดยามากาตะ ,ฟุกุชิมะ, โมริโอกะ และอีกมากมายได้อีกด้วย!

 

หมายเหตุ: ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 เป็นต้นไป ได้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานและราคาของ JR EAST PASS (Tohoku area) ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

เครดิตรูปภาพส่วนหัว: JR East / Carissa Loh

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Share this article:
TSC-Banner